ปริศนาเกาะอีสเตอร์

เรื่องที่นํามาฝากในวันนี้คือ เรื่องของเกาะอีสเตอร์ครับ ก่อนอื่น เราไปดูข้อมูลของเกาะอีสเตอร์จากวิกิพีเดียก่อนดีกว่า Easter Island หรือตามภาษาถิ่นเรียกว่า เกาะราปานุย (Rapa Nui) และในภาษาสเปนเรียกว่า เกาะปัสกวา (Isla de Pascua) ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกอยู่ในการปกครองของประเทศชิลี ซึ่งเกาะห่างจากฝั่งประเทศชิลีกว่า 3,600 กิโลเมตร ไปทางทิศตะวันตก เกาะที่ใกล้เกาะอีสเตอร์มากที่สุดอยู่ห่างฝั่งจากถึง 2,000 กิโลเมตร จึงได้ชื่อว่าเป็นสถานที่อันโดดเดี่ยวแห่งหนึ่งของโลก ลักษณะของเกาะมีขนาดเล็ก มีพื้นที่เพียง 160 ตารางกิโลเมตร มีความยาว 25 กิโลเมตร
ความลี้ลับของ "เกาะอีสเตอร์" (Easter Island) ประเทศชิลี เป็นหัวข้อหนึ่งที่นักประวัติศาสตร์และนักวิชาการทั้งหลายพยายามหาข้อพิสูจน์และถกเถียงกันมายาวนานนับร้อยปี เกี่ยวกับปริศนาเกาะอีสเตอร์ รวมถึงหินแกะสลักขนาดยักษ์ที่ตั้งเรียงราวอยู่ตามชายหาดและทั่วบริเวณเกาะ คำถามที่ว่าใครเป็นคนแกะสลักสิ่งเหล่านี้? แกะสลักเพื่ออะไร? หินเหล่านี้มาจากไหน? เคลื่อนย้ายหินขนาดยักษ์นี้ได้อย่างไร? ใช้เครื่องมืออะไรสลัก? แล้วเหตุอันใดการสร้างแกะศิลาเหล่านี้จึงยุติ? รวมถึงความแน่ชัดของอารยธรรมและอีกหลากหลายปริศนาที่จนบัดนี้ก็ยังหาคำตอบไม่ได้ แต่ด้วยเหตุที่เต็มไปด้วยปริศนาลี้ลับนี้เองที่เป็นเหตุจูงใจให้นักท่องเที่ยวและนักวิชาการทั้งหลายเดินทางมาเยือนเกาะอีสเตอร์อย่างไม่หยุดหย่อน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งความโด่งดังของหินสลักขนาดยักษ์โมอายหรือโมอาอิ (Moai) ที่มีความน่าอัศจรรย์ เป็นตัวแทนซึ่งแสดงผลงานชิ้นเอกที่จัดทำขึ้นด้วยการสร้างสรรค์อันฉลาดและเป็นสิ่งที่ยืนยันถึงหลักฐานของวัฒนธรรมหรืออารยธรรมที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันหรือว่าที่สาบสูญไปแล้ว อีกทั้งยังเป็นตัวอย่างอันโดดเด่นของวัฒนธรรมมนุษย์ ขนบธรรมเนียมประเพณีแห่งสถาปัตยกรรม วิธีการก่อสร้างหรือการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ซึ่งเสื่อมสลายได้ง่ายจากผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมตามกาลเวลา (อ่านรายละเอียดเรื่อง โมอาย เพิ่มเติม ที่นี่)
แค่ลำพังตัวเกาะอีสเตอร์ อันเป็นเกาะเล็กกระจิริดตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกอย่างโดดเดี่ยวห่างไกล นั่นน่ะ ไม่มีความสลักสำคัญอะไรนักหรอกครับ ความสำคัญที่ทำให้ใครๆ มานั่งถกเถียงกันอย่างหัวเรื่องที่จะคุยในวันนี้มันอยู่ที่รูปสลักลึกลับแปลกประหลาดที่เรียงรายกันอยู่ตามชายหาดของเกาะเป็นจำนวนมากมายร่วม 600 รูปต่างหากล่ะ
รูปสลักศิลาจำนวน 600 รูปดังกล่าวนั้นถ้าเป็นรูปขนาดเท่าคนธรรมดาๆ มันก็ไม่ประหลาดอะไรหรอก แต่ว่าขนาดของรูปสลักแต่ละรูปมันมีหลายรูปสูงใหญ่โย่งโก้งเท่าตึก 4 ชั้น หนักปาเข้าไปร่วม 30 ตัน ขนาดรองๆ ลงมามีส่วนสูง 30 ฟุต และหนักยี่สิบตันลงไปจนถึงขนาดเล็กที่สุดสูง 18 ฟุต หนัก 12 ตันเศษ กับทั้งยังมีรูปสลักที่ยังไม่เสร็จทิ้งค้างไว้ที่นั่น ไม่ได้ชักลากเอามาตั้งเรียงตามชายหาดอย่างรูปอื่นๆ ก็มีอีกเหมือนกัน ทำให้เกิดความฉงนฉงายว่าใครหนอมาสลักรูปหน้าศิลามหึมาด้วยความประสงค์อะไร
ก็คงเพราะความประหลาดอัศจรรย์และลึกลับน่าสนใจของรูปศิลาสลักเหล่านี้ ทำให้ผู้คนที่รู้เรื่องฉงนฉงายไปตามๆ กัน โดยเฉพาะนักลึกลับศาสตร์ เอริค ฟอน ดานิเก้น นั่นไม่ฉงนเปล่า ยังพยายามหาคำตอบให้กับปริศนาลับของรูปสลักแห่งเกาะอีสเตอร์อีกด้วย โดยหาหลักฐานมาหว่านล้อมว่า รูปเหล่านั้นเป็นผลงานของมนุษย์ต่างดาวที่มาเยือนพิภพในอดีต ทำให้นักโบราณคดีและนักวิชาการต้องออกโรงคัดค้าน ซึ่งการโต้แย้งของนักวิชาการกับนักวิชาเกินอย่างดานิเก้น
ตรงนี้ขอสาวประวัติเกาะอีสเตอร์ให้รับทราบกันว่า เกาะนี้มีขนาดเล็กเพียง 105 ตารางไมล์ห่างจากประเทศชิลีที่เป็นเจ้าของถึง 2,350 ไมล์ ผู้ค้นพบเกาะเป็นคนแรกได้แก่ นักเดินเรือชาวดัตช์ชื่อ จาค็อบ ร็อกเกวีน(Jacob Roggaveen) ซึ่งค้นพบในวันอีสเตอร์ของปี ค.ศ.1722 จึงตั้งชื่อเกาะว่า อีสเตอร์ ไอส์แลนด์
บนเกาะในขณะนั้นมีชาวเกาะ อยู่ราว 2,000 คน พวกเขาไม่เคยรู้จักโลกภายนอก ไม่มีเรือหรือพาหนะใดๆ ที่จะใช้ในการเดินทางข้ามทะเล สภาพบนเกาะแห้งแล้ง ไม่มีป่าและไม่มีสัตว์อื่น แต่สิ่งที่ทำความอัศจรรย์ใจให้แก่รอกกาวีนและลูกเรือก็คือก้อนหินที่สลักเป็นรูปศีรษะคน จำนวน 200 ชิ้น ที่ตั้งเรียงรายอยู่ชายฝั่ง แต่ละรูปมีขนาดมหึมา หินบางก้อนสูงถึง 33 ฟุต และมีน้ำหนักกว่า 80 ตัน และเมื่อสำรวจลึกเข้าไปบนเกาะก็ได้พบรูปสลักทำนองเดียวกันอีก 700 ชิ้น บางก้อนมีความสูงถึง 65 ฟุต และหนัก 270 ตัน รอกกาวีนตั้งข้อสังเกตด้วยความฉงนฉงายว่า ชาวเกาะจำนวนแค่นี้จะสามารถสะกัดและสลักหินจำนวนมากมายได้อย่างไร ทั้งบนเกาะนี้ก็ไม่มีไม้ซุงและเถาวัลย์หรือพืชที่จะใช้ทำเชือกเพื่อเคลื่อนย้ายก้อนหินขนาดใหญ่ได้
ความน่าอัศจรรย์ใจของรูปสลักศิลาบนเกาะอีสเตอร์ กลายเป็นปริศนาและนำไปสู่จินตนาการของผู้คนในยุคต่อมา ดังนั้นนายฟอน ดานิเกน นักเขียนชาวสวิส ผู้สร้างตำนานความเชื่อเกี่ยวกับมนุษย์ต่างดาวว่าเป็นผู้ลงมาสร้างสรรค์ปิรา มิดแห่งกีซ่า และสิ่งมหัศจรรย์อื่น ๆ บนโลก ไม่รีรอที่จะเสนอแนวคิดของตนว่าหินบนเกาะอีสเตอร์ก็เป็นฝีมือของคันตุกะ จากนอกโลกด้วยเช่นกัน ขณะที่นักโบราณคดีก็ทำการวิเคราะห์ลึกลงไปใต้พื้นผิวของเกาะเพื่อหาร่องรอย ของพืชพันธุ์ที่สาบสูญ และได้ข้อสันนิษฐานว่าเกาะแห่งนี้น่าจะถูกยึดครองโดยชาวโพลินีเซียนเมื่อ ค.ศ 400 ถึง 700 ปี ด้วยภูมิอากาศที่ใกล้เคียงกับป่าเมืองร้อน คงทำให้ภูเขาบนเกาะปกคลุมไปด้วยดงปาล์ม และเถาไม้เลื้อย ทั้งอุดมไปด้วยสัตว์นานาชนิด โดยเฉพาะฝูงนกที่มีทั้งทีเข้ามาตั้งหลักแหล่งอย่างถาวรและอาศัยเกาะเป็นที่ วางไข่ ส่วนอาหารหลักของชาวโพลินีเซียนในสมัยนั้นก็คือปลาโลมาซึ่งมีอย่างชุกชุม สามารถเอาเรือแคนูออกไปจับได้โดยไม่ยากเย็น นอกจากนั้นก็คงเป็นพวกนกทะเลเหล่านั้น ซึ่งความเป็นเกาะสวรรค์กลางมหาสมุทรน่าจะทำให้จำนวนชาวเกาะเพิ่มขึ้นอย่าง รวดเร็ว
นักวิชาการหลายท่านสันนิษฐานไปในทิศทางเดียวกันว่า มนุษย์ที่อพยพมาตั้งถิ่นฐานบนเกาะแห่งนี้ครั้งแรกคือชาว "โพลีนีเซียน" (Polynesia) เมื่อคนเหล่านี้เดินทางมาถึงเกาะก็ได้บุกเบิกสร้างเมืองทันที โดยเอาสัตว์เลี้ยงและต้นไม้มาปลูกบนเกาะ
นักวิชาการได้ สันนิษฐานอีกว่า ในปี ค.ศ.380 ได้เริ่มมีรูปสลักคนนั่งคุกเข่า ซึ่งสลักจากหินบะซอลต์หรือกากแร่ภูเขาไฟ ต่อมาในยุค ค.ศ.1100 ได้มีรูปสลัก "โมอาย" (Moai) ซึ่งสลักจากหินภูเขาไฟ "ราโน รารากู" (Rano Raraku) ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกของเกาะ ลักษณะเป็นครึ่งตัว ลำตัวส่วนบนเหมือนผู้ชาย หน้าตาคล้ายกันหมด คิ้วโหนกออกมาจนเป็นสัน ดวงตาใช้วัสดุอื่นฝั่งลงไปในเนื้อหิน ช่วงปลายจมูกเชิดขึ้นเล็กน้อยรับกับปากที่แบะและยื่น มีคางเป็นเหลี่ยม ติ่งหูยาว มีแขนที่แนบชิดติดลำตัว สูงประมาณ 6-30 ฟุต หนักประมาณ 50 ตัน ตั้งอยู่บนฐานหินที่เรียกว่า "อาฮู" (Ahu)
ต่อมาก็มีการสร้างรูปสลักลักษณะแบบเดียวกันแต่สูงใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ และได้มีการเติมส่วนจุกสีแดงหรือที่เรียกว่า "พูคาโอ" (Pukao) บนศีรษะ โดยเชื่อกันว่ารูปสลักเหล่านี้เป็นสัญลักษณ์แทนเทพเจ้าหรือหัวหน้าเผ่าผู้ล่วงลับไปแล้ว จนในปี ค.ศ.1680 ได้เกิดสงครามขึ้นระหว่างสองชนเผ่าที่อาศัยอยู่บนเกาะทำให้ป่าไม้เริ่มหมด อาหารการกินร่อยหรอ เป็นปัจจัยที่ทำให้อาณาจักรนี้ล่มสลาย
นอกจากนี้ บนเกาะอีสเตอร์ยังมีตำนานเก่าแก่เกี่ยวกับ "มนุษย์ปักษี" (Birdman) โดยตัวแทนของแต่ละเผ่าจะต้องแข่งขันกันเพื่อแย่งสิทธิ์ในการใช้ทรัพยากร โดยวิ่งลงหน้าผาสูงชันแล้วว่ายน้ำข้ามไปยังเกาะโมโตนุย (Moto Nui) เพื่อหาไข่แล้วนำไข่ว่ายน้ำกลับมาให้ผู้นำของเผ่านั้นได้ก็ถือว่าชนะ ซึ่งผู้นำเผ่าของผู้ชนะนอกจากจะได้รับการยกย่องให้เป็นมนุษย์ปักษีประจำปีนั้นๆ แล้ว ยังได้สิทธิ์การปกครองและการใช้ทรัพยากรอีกด้วย แต่นั้นก็เป็นเพียงตำนานหนึ่งที่เล่าสืบต่อกันมาถึงการล่มสลายของเกาะ ซึ่งในปัจจุบันก็ยังหาข้อพิสูจน์ที่ชัดเจนไม่ได้
ชื่อของเกาะนี้ก็เช่นกัน นักวิชาการบางคนเชื่อว่าเดิมเกาะอีสเตอร์มีชื่อพื้นเมืองว่า "Te Pito O Te Henua" มีความหมายคือ "Navel of The World" หรือ "สะดือของโลก" กระทั่งปี ค.ศ. 1722 ในช่วงเทศกาลอีสเตอร์ นักเดินเรือชาวดัตช์ซึ่งถือเป็นชาวยุโรปกลุ่มแรกได้เดินทางมาพบเกาะเล็กๆ ที่มากด้วยรูปสลักหินขนาดยักษ์เรียงรายอยู่ตามชายหาดหันหน้าเข้าหาฝั่ง จึงตั้งชื่อเกาะว่า "Easter Island"
จากนั้นในปี ค.ศ.1770 นักเดินเรือชาวสเปนได้ค้นพบเกาะแห่งนี้อีกครั้งและพบว่ามีประชากรอยู่นับพันคน อีกไม่กี่ปีต่อมา กัปตัน James Cook ก็ได้มาพบเกาะอีสเตอร์ แต่ขณะนั้นประชากรบนเกาะเหลือเพียงไม่กี่ร้อยคน ซึ่งคาดว่าเหตุที่ประชากรลดลงอย่างรวดเร็วน่าจะมาจากการที่ประชากรแย่งกันใช้ทรัพยากรจนหมดไปนั้นเอง
เวลาผ่านไปจนถึงปี ค.ศ.1862 รัฐบาลเปรูได้กวาดต้อนชาวพื้นเมืองไปเป็นทาสบนแผ่นดินใหญ่และเมื่อทาสบางส่วนถูกปล่อยตัวกลับเกาะ ก็ได้นำเชื้อไข้ทรพิษกลับไปด้วย ทำให้ประชากรชาวเกาะทีมีอยู่น้อยยิ่งลดจำนวนลงอย่างมาก บวกกับที่ชาวพื้นเมืองไม่ได้บันทึกเรื่องราวอะไรไว้ ทำให้อารยธรรมความเป็นอยู่ของชาวพื้นเมืองบนเกาะอีสเตอร์เลือนหายไปพร้อมๆ กับผู้คนและกาลเวลา
จนในศตวรรษ ที่ 19 ประเทศชิลี (Chile) ก็ได้ผนวกเกาะอีสเตอร์เข้าเป็นส่วนหนึ่งของประเทศในปี ค.ศ.1888 และในเวลาต่อมาได้มีการสร้างสนามบินขึ้นบกเกาะแห่งนี้ เกาะอีสเตอร์ก็กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญอีกแห่งของโลกนับแต่นั้นมา
ในเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี นักท่องเที่ยวจากทั่วโลกประมาณ 4,000 คนจะมุ่งหน้าไปยังเกาะอีสเตอร์ เพื่อร่วมงานเทศกาลทาปาติ (Tapati) ทางเหนือของเกาะ ในเทศกาลนี้นักท่องเที่ยวจะสนุกสนานกับการละเล่นต่างๆ เพลิดเพลินกับระบำและอาหารพื้นเมือง การแข่งขันกีฬาและปิดท้ายรายการด้วยพิธีเฉลิมฉลองราชินีแห่งเกาะและการชมพลุ
จำนวนของนักท่องเที่ยวในช่วงนี้ จะทำให้จำนวนประชากรของเกาะอีสเตอร์เพิ่มขึ้นอีกหนึ่งเท่าตัวและนอกเหนือจากรายได้ที่สะพัดจากการท่องเที่ยวแล้ว ในปีนี้สิ่งที่ชาวเกาะมุ่งหวังก็คือการสร้างความประทับใจอย่างสูงแก่ผู้มาเยือนทั้งหลาย  ปัจจุบันบนเกาะอีสเตอร์แห่งนี้มีภูเขาไฟที่ดับแล้วอยู่ 3 ลูกได้แก่ ภูเขาไฟราโน รารากู (Rano Raraku), ภูเขาไฟราโน กาโอ (Rano Kao) และ ภูเขาไฟราโน อาโรย (Rana Aroi)
สำหรับภูเขาไฟราโน กาโอ ตั้งอยู่ตรงปลายเกาะ หากจะขึ้นไปชมด้านบนต้องเดินขึ้นเนินเลียบทะเลขึ้นไปที่ปากปล่อง ด้านบนสามารถชมวิวอันสวยงามของเกาะได้ ส่วนภูเขาไฟราโน รารากู ด้านบนปากปล่องภูเขาไฟเป็นทะเลสาบที่สวยงามและมองเห็นวิวทิศทัศน์ได้กว้างไกล ว่ากันว่าแหล่งกำเนิดของโมอายอยู่ที่ภูเขาไฟแห่งนี้นี่เอง
โมอายทั้งหมดบนเกาะอีสเตอร์แห่งนี้ มีประมาณ 887 ตัว กระจัดกระจายอยู่ทั่วเกาะ บ้างก็ทำเสร็จและตั้งอยู่บนฐานอาฮูสมบูรณ์แล้ว บางก็ยังแกะไม่เสร็จ บ้างก็ยังล้มอยู่ก็มี โมอายตัวที่ใหญ่ที่สุดที่ยังไม่ตั้งอยู่ที่ ราโน รารากู สูง 71.93 ฟุต หนัก 145-165 ตัน ส่วนโมอายตัวใหญ่ที่สุดที่ตั้งขึ้นเรียบร้อยแล้วอยู่ที่ Ahu Te Pito Kura สูง 32.63 ฟุต
การเรียกโมอายจะเรียกตาม อาฮู (Ahu) ที่โมอายตั้งอยู่ มีหลายแห่ง อาทิ บริเวณ Ahu Tahai ซึ่งอยู่ใกล้เมืองมากที่สุด, บริเวณ Ahu Akivi เป็นฐานที่มีโมอาย 7 ตัว แปลกกว่าบริเวณอื่นเนื่องจากหันหน้าออกทะเล, Ahu Tongariki มีโมอาย 15 ตัวด้วยกัน, Ahu Naunau ฐานโมอาย 7 ตัว 4 ใน 7 ตัวนี้มี Pukao บนหัวด้วย
การสำรวจทางโบราณคดีที่เกาะนี้ทำขึ้นในปี ค.ศ. 1955 คณะนักโบราณคดีชุดนี้นำโดยนักสำรวจและนักมานุษยวิทยา คนที่ท่านผู้ที่สนใจเรื่องการผจญภัยคงรู้จักดีคือ "ธอร์ เฮเยอร์ดาร์ล" (Thor Heyerdahl) เขาคนนี้เคยต่อแพไม้ชื่อ "คอน-ติกิ" เดินทางสำรวจทะเลใต้ประสบความสำเร็จโด่งดังมาแล้วในปี 1947
ธอร์ เฮเยอร์ดาห์ล กับคณะของเขาซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญทางโบราณคดีและมานุษยวิทยาระดับด็อกเตอร์ หลายคน ได้ศึกษาอารยธรรมของชาวพื้นเมืองอยู่นานถึง 6 เดือน จึงได้ความรู้ว่าแรกเริ่มเดิมทีชาวเกาะประกอบด้วยชน 2 พวก พวกหนึ่งผิวขาว ผมแดง รูปร่างสูงใหญ่ ใบหูยาว จึงเรียกกันว่าพวก "หูยาว" พวกนี้มีความฉลาดกว่าพวกผิวคล้ำตัวเล็กหูสั้น ซึ่งเรียกว่าพวก "หูสั้น" พวกหูยาวจึงได้ปกครองพวกหูสั้นและออกคำสั่งให้สร้างรูปศิลาสลักหน้าคนขนาดมหึมาไว้เต็มชายหาดเพื่อสักการบูชา เพราะว่าหน้าตาของคนในรูปสลักนั้นเหมือนกับบรรพบุรุษของชาวหูยาว แต่ต่อมาพวกหูสั้นทนกดขี่ข่มเหงไม่ไหว ก็เลยลุกฮือขึ้นเป็นขบถโค่นล้มพวกหูยาวเสียจนสำเร็จในปี ค.ศ.1680 แล้วก็เลิกสร้างรูปศิลาสลักต่อไปอีก นี่ก็เป็นเหตุผลว่าทำไมรูปศิลาสลักบางรูปถึงยังสลักไม่เสร็จและบางรูปก็ทิ้งไว้ที่ภูเขาซึ่งสกัดเอาหินออกมาสลักนั่นเอง
ธอร์ เฮเยอร์ดาห์ล เขียนหนังสือเกี่ยวกับการสำรวจของเขาอย่างละเอียดให้ชื่อเป็นภาษาพื้นเมืองว่า "อากู-อากู" โดยเขียนและพิมพ์ออกจำหน่ายในราวปี ค.ศ. 1957
ต่อมาในราวปี ค.ศ. 1960 ก็มีหนังสือเล่มหนึ่งฮิตตูมตามขึ้นมาสนั่นโลก ภายใต้ชื่อว่า "รถทรงขององค์พระเจ้า" (Chariots of the Gods) เขียนโดยนักลึกลับศาสตร์ เอริค ฟอน ดานิเก้น คนนั้นแหละ
ดา นิเก้นบอกว่า รูปศิลาสลักขนาดสูงตั้ง 30 ฟุต และหนักตั้ง 30 ตันอย่างนั้น มันเกินกำลังที่ชาวเกาะในสมัยหลายร้อยปีก่อนจะสลักขึ้นด้วยเครื่องมือแบบ ง่ายๆ ที่เขาใช้กันอยู่สมัยโบราณ ประกอบกับหินที่ใช้สลักก็แข็งเหลือกำลัง นอกจากนี้ชาวเกาะซึ่งไปสกัดหินสลักเป็นรูปหน้าคนจากภูเขาห่างเข้าไปในตัวเกาะ สามารถชักลากรูปสลักใหญ่ปานนั้นมาได้อย่างไรในเมื่อไม่รู้จักการใช้ล้อเลื่อนเลยสักนิด?
ดานิเก้นจึงสรุปว่า ผู้ที่มาสร้างรูปศิลามหึมาไว้นี้คือมนุษย์ต่างดาวที่เดินทางมาจากโลกอื่นแวะลงพักที่เกาะนี้ชั่วคราวด้วยจุดประสงค์บางประการ แล้วก็เลยใช้เวลาว่างสลักรูปเล่นด้วยเครื่องมือที่ "คมจนตัดหินได้เหมือนใช้มีดตัดเนย" ครั้นพอยานอวกาศมารับพวกเขา มนุษย์ต่างดาวก็ทิ้งรูปสลักที่สลักเล่นๆ ให้ค้างคาไว้แล้วพากันขึ้นจานผีกลับคืนสู่ดวงดาวของตน
ภาษารองโกรองโก้ – ภาษาโบราณของเกาะอีสเตอร์ ที่ในปัจจุบันไม่มีใครในโลกอ่านออก แม้แต่ชาวเกาะอีสเตอร์ยังอ่านไม่ออกเลย
มีหลักฐานสำคัญบางประการที่ดานิเก้นใช้อ้างถึงในการยืนยันเรื่องมนุษย์ต่างดาวของเขา เป็นหลักฐานที่มาจากตำนานของคนพื้นเมืองในเกาะเอง คือคนพวกนี้มีตำนานของ "มนุษย์ปักษี" (Birdman) ซึ่งบินได้เหมือนนก ชาวเกาะเชื่อว่าบรรพชนในอดีตของพวกเขาสามารถบินได้ในอากาศเหมือนนกทีเดียว แต่เนื่องจากว่าอารยธรรมของชาวเกาะได้สูญไปเพราะการทำลายล้างของนักเดินเรือผิวขาวเกือบหมด ดานิเก้นจึงสรุปเอาดื้อๆ ว่าบรรพชนที่บินได้เหมือนนกนั่นน่ะคือ มนุษย์ต่างดาว
หลักฐานอีกอย่างที่ดานิเก้นพบมาก็คือ บนเกาะมีร่องรอยของถนนสายใหญ่ลาดไปตกทะเล ซึ่งแสดงว่าบางส่วนของเกาะจมหายลงไปในทะเลด้วย ดานิเก้นบอกว่า ถนนนี้แหละมนุษย์ต่างดาวมาสร้างไว้เพื่อให้สะดวกในการพักอยู่ชั่วคราวของพวกเขา กับทั้งแผ่นดินเหนียวจารึกอักขระที่ยังไม่มีใครอ่านออกก็น่าจะเกี่ยวข้องกับ มนุษย์ต่างดาวด้วย
น่าประหลาดที่ว่า ธอร์ เฮเยอร์ดาห์ล คนสำรวจเกาะอย่างถี่ถ้วนและเขียนหนังสือไว้ก่อนหน้าดานิเก้นตั้งหลายปีกลับวางเฉยไม่โต้แย้งอะไรทั้งนั้น ร้อนถึงนักวิชาการบางคนต้องเต้นผางออกมาแสดงแทน ได้แก่ ดร.คลิฟฟอร์ด วิลสัน นักโบราณคดีใหญ่แห่งมหาวิทยาลัยเซาธ์ แคโรไลนา เขียนหนังสือชื่อ "Crash Go The Chariots" กล่าวหาว่า ข้ออ้างเกี่ยวกับมนุษย์ต่างดาวมาเยือนเกาะอีสเตอร์ก็ดี เรื่องมนุษย์ต่างดาวช่วยสร้างพีระมิดก็ดี ล้วนไขปัญหาได้ง่ายๆ ด้วยวิชาโบราณคดีเท่านั้น
นอกจาก ดร.คนนี้แล้ว ในปี ค.ศ. 1976 ยังมีนักวิชาการอีกคนชื่อ โรแนลด์ สตอรี่ เป็นเดือดเป็นแค้นอีท่าไหนไม่ทราบ นอกจากเขียนประท้วงดานิเก้นแล้ว ยังเรียกร้องให้ ธอร์ เฮเยอร์ดาห์ล ออกมาแถลงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับความลับของรูปสลักมหึมาเหล่านั้นอีกด้วย
เฮเยอร์ดาห์ลคิดอยู่นานจึงตกลงใจเขียนสรุปย่อการสำรวจความลับบนเกาะอีสเตอร์ออกสู่ประชาชน เขาบอกว่า เท่าที่ไปศึกษาคลุกคลีอยู่กับชาวเกาะนานตั้ง 6 เดือนนั้น ได้รู้ความลับความหลังของรูปสลักมาว่า อายุอานามของรูปสลักเหล่านี้มิได้เก่าแก่เก๋ากึ๊กส์อย่างที่เข้าใจกัน มันแบ่งออกเป็น 3 สมัย
สมัยที่เริ่มสลักรูปหน้าคนเป็นครั้งแรกเริ่มขึ้นในปี ค.ศ.300 หรือราวพันเจ็ดร้อยปีเศษมาแล้ว เป็นรูปสลักขนาดไม่ใหญ่นัก แสดงว่าชาวพื้นเมืองยังไม่มีความรู้เท่าที่ควร สมัยต่อมาสลักขึ้นในราวปี ค.ศ.1100 รูปใหญ่โตและหนักมากขึ้น ซึ่งแสดงถึงความรู้ความชำนาญของช่างมากขึ้น เพราะปรากฏว่าบางรูปสูงถึง 32 ฟุต หนัก 32 ตัน ต่อมาเป็นสมัยที่ 3 การแกะสลักหินเปลี่ยนไปเป็นการสลักเรื่องราวของ "มนุษย์ปักษี" อันเป็นบรรพชนในอดีตกาลของพวกเขา จนถึง ค.ศ. 1680 ชาวหูสั้นที่ตกเป็นเบี้ยล่างสลักรูปเคารพให้แก่ชาวหูยาว จึงทำรัฐประหารสำเร็จและเลิกสลักรูปเคารพขนาดมหึมาตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
เมื่อเฮเยอร์ดาห์ลถามหัวหน้าชาวเกาะว่าคนโบราณขนรูปสลักขนาดมหึมานี้จากภูเขากลางเกาะมาสู่ชายฝั่งได้อย่างไร หัวหน้าตอบหน้าตาเฉยว่า "มันเดินมาเอง!"
เฮเยอร์ดาห์ลเชื่อเหมือนกันว่ารูปสลักมัน "เดิน" มาจากภูเขา แต่ไม่ได้เดินเองด้วยอำนาจมนตราใดๆ หากแต่เดินมาได้ด้วยแรงชักลากของชาวเกาะโบราณ เขาทดลองดูแล้วเห็นว่าไม่จำเป็นจะต้องใช้คนเป็นพันหรือมากมายอย่างที่ดานิเก้นประมาณไว้เลย แค่ 500 คนก็เหลือแหล่แล้วที่จะชักลากรูปสลักมาที่ชายหาดซึ่งทำทางลาดรอไว้ก่อนแล้ว อาศัยทางลาดนั้นก็ทำให้เข็นรูปสลักขึ้นได้โดยไม่ยาก การชักลากรูปสลักมาจากภูเขายังตอบปัญหาของดานิเก้นที่ว่ามีถนนอย่างดีในตัวเกาะด้วย ถนนนั้นทำไว้สำหรับชักลากรูปสลักนี่เอง
เฮเยอร์ดาห์ลยังกล่าวต่อไปอีกว่า ถ้ามนุษย์ต่างดาวมาสร้างรูปสลักเอาไว้จริงแล้ว ทำไมจึงไม่ทิ้งเครื่องมืออันแสดงถึงความเจริญสูงสุดเป็นต้นว่าโลหะหรือ พลาสติกไว้บ้างเล่า?
ส่วนตำนานมนุษย์ปักษีนั้น เฮเยอร์ดาห์ลก็บอกว่ามันเป็นเรื่องของขนบธรรมเนียมดั้งเดิมของชาวเกาะต่างหากที่ว่าในอดีต คนที่จะเป็นหัวหน้าชาวเกาะจะต้องแสดงความสามารถให้ประจักษ์ ด้วยการไต่ขึ้นไปบนยอดผาริมทะเลแล้วร่อนลงมาสู่ที่ต่ำ ในระหว่างที่ร่อนลงมาก็ต้องฉวยไข่นกทะเลที่ทำรังบนชะง่อนหินหน้าผาให้ได้ แล้วจึงตกลงสู่พื้นน้ำและดำลงไป ถ้าใครโผล่ขึ้นมาโดยปลอดภัยละก็แสดงว่าเก่ง สมควรจะรับไว้เป็นหัวหน้าได้
อีกเรื่องหนึ่งซึ่งค้านความเห็นของดานิเก้นอย่างชนิดตีแสกหน้าเลยก็คือ เฮเยอร์ดาห์ลยืนยันหนักแน่นว่า หินที่ใช้สลักรูปหน้าคนนี้ไม่แข็ง มันเป็นหินภูเขาไฟที่เกิดจากการทับถมของขี้เถ้าจากปล่องภูเขาไฟนั่นเอง ถ้าชุบน้ำให้เปียกก็สามารถสลักได้โดยง่ายดาย เขาได้ขอให้หัวหน้าแสดงการสลักหินให้ดู ปรากฏว่าใช้คนแค่ 6 คนแกะสลักหินใหญ่ด้วยขวานแบบโบราณเสร็จภายในเวลาไม่ถึงเดือนเท่านั้น เป็นอันว่า ธอร์ เฮเยอร์ดาห์ล กล่าวแก้ข้อคิดของดานิเก้นได้ครบหมดทุกข้อ ไม่ว่าจะในแง่ตำนานหรือโบราณคดี
แต่คนเกือบครึ่งโลกที่อ่านหนังสือของดานิเก้นต่างก็สงสัยเหมือนกัน เฮเยอร์ดาห์ลและคณะนักโบราณคดีพากันไปสำรวจเกาะอีสเตอร์เมื่อปี ค.ศ. 1955 นี้เอง เป็นสมัยที่ทุกอย่างเจริญหมดแล้ว แม้ชาวเกาะจะด้อยพัฒนาอยู่แต่ก็ไม่ด้อยเสียจนไม่รู้จักอะไรเลย ฉะนั้นอะไรที่คนในสมัยนี้บอกว่าง่ายดายนั้น ในสมัยพันเจ็ดร้อยกว่าปีก่อน พวกเขาอาจเห็นว่ายากแสนเข็ญก็ได้และคำอธิบายเกี่ยวกับ "มนุษย์ปักษี" ก็ฟังแปลกๆ ชอบกล เพราะคนที่ขึ้นไปกระโดดจากหน้าผาสูงพุ่งลงสู่น้ำทะเลเพื่อชิงความเป็นหัวหน้าน่ะ คงไม่ต้องติดปีกเป็นมนุษย์ปักษีด้วยล่ะกระมัง มนุษย์ปักษีในตำนานน่าจะหมายถึงคนที่ติดปีกจริงๆ ซึ่งอาจจะเป็นปีกเครื่องร่อนหรือปีกเครื่องบินเล็กก็ได้
สิ่งที่น่าคิดอีกอย่างก็คือ ถ้าพวก "หูยาว" บังคับพวก "หูสั้น" ให้สลักรูปบรรพบุรุษของพวกเขาไว้บูชาจริงก็ทำไมต้องสลักกันมากมายตั้งหกร้อยกว่ารูปยังงี้ และทำไมไม่สลักไว้ที่เชิงภูเขาจะได้ไม้ต้องเคลื่อนย้ายมาให้ลำบาก?
ชาวพื้นเมืองของเกาะนี้มีอารยธรรมและภาษาเป็นของตนเอง (ราปานุย) พวกเขาสืบเชื้อสายมาจากชาวโปลิเนเชี่ยนและดำรงชีพแบบง่ายๆ ตั้งแต่โบราณมาจนถึงทุกวันนี้ก็ยังมีประชากรอยู่เพียงหยิบมือ เรียกได้ว่า แทบไม่เปลี่ยนแปลงอะไรเลย
ตรงนี้แหละที่ทำให้ใครต่อใครสงสัยกัน ท่านที่เห็นรูปของโมอายคงจะแปลกใจกันนะว่าดีไซน์ รูปร่างใหญ่โต และน้ำหนักขนาดนั้น ลำพังชาวเกาะอีสเตอร์จะเอาเครื่องไม้เครื่องมือที่ไหนมาสลัก แล้วลากลงมาจากภูเขาไปตั้งทิ้งไว้ที่ชายหาดได้ มีนักวิชาการหลายท่านที่พยายามอธิบายถึงวิธีการสร้างโมอายเหล่านี้ หลายคนถึงกับลงมือสาธิตด้วยตนเอง ถึงกระนั้นหลายๆ คนก็ยังปักใจเชื่ออยู่ดีว่า เจ้ารูปสลักหินนี่ ต้องมี "อะไรๆ" เกี่ยวพันกับอารยธรรมนอกโลกอยู่ นักวิชาการหลายคนถึงกับลงมือขุดค้นเข้าไปในตำนานของชาวเกาะ เพื่อจะหาที่ไปที่มาของโมอาย แต่ก็ไม่ค่อยจะได้เรื่องราอะไรนัก พอถามชาวเกาะที่มีอายุและมีความทรงจำเกี่ยวกับความเป็นมาของเกาะดู ก็ได้รับคำตอบอย่างเป็นที่น่าพอใจว่า "มันเดินกันลงมาเอง" แน่ล่ะสิ … รูปสลักใหญ่โตขนาดนี้ ใครล่ะจะเชื่อว่าชาวเกาะโบราณจะใช้แรงงานของพวกเขาขนย้ายด้วยการลากลงมาเอง อย่าว่าแต่ลากเลยแค่วิธีแกะสลักเนี่ย ก็ลำบากมากแล้ว ขนาดเราเองยังนึกไม่ออกเลยว่าชาวโพลิเนเชี่ยนเหล่านี้เค้าเอาอะไรมาสลักหินภูเขาไฟก้อนเบ้อเริ่มให้ออกมาเป็นศิลปกรรมหน้าตาประหลาดแบบนี้ได้ ลิ่มหรือว่าขวานหิน?
อีกอย่าง ดีไซน์ของเจ้าโมอายดูแปลกและแตกต่างไปจากศิลปกรรม, สิ่งสักการะทางศาสนาและวัฒนธรรมของโปลิเนเซี่ยนโดยสิ้นเชิง บนเกาะอีสเตอร์ยังเหลือโมอายที่ทำไม่เสร็จทิ้งไว้ตามชายหาดอยู่จำนวนมาก เหมือนกับว่าคนสร้างได้รีบทิ้งถิ่นพำนัก แล้วจากไปอย่างปัจจุบันทันด่วนซะอย่างนั้น
นอกจากนี้บนเกาะอีสเตอร์ยังมีตำนานเก่าแก่ เป็นตำนานของมนุษย์ปักษี (Birdman) ที่เชื่อกันว่าเป็นกลุ่มชนที่รอดตายจากทวีปมู เล่าขานต่อๆ กันมา ต่างคนก็ต่างใจ นักวิชาการบางคนเริ่มเอนเอียงที่จะเชื่อว่า อารยธรรมบนเกาะอีสเตอร์มีส่วนเกี่ยวพันกับเอเลี่ยนนอกโลก ในขณะที่บางคนก็พะอืดพะอมที่จะรับฟังและพยายามหาเหตุผลที่ฟังขึ้นกว่านี้มาอธิบาย


ที่มาคลิ๊ก

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น