คำสาปของฟาโรห์ตุตันคาเมน

ลอร์ด คาเนวอน ได้ว่าจ้างคณะสำรวจของนาย โฮเวิร์ด คาร์เตอร์ เพราะต้องการให้มีการสำรวจสุสานฟาโรห์ เป็นคณะแรกที่ได้เข้าสู่สุสานของตุตันคาเมนในหุบผากษัตริย์ เมืองลักซอร์ ในวันที่ 4 พ.ย. 1922 โดยคาร์เตอร์ใช้เวลาถึง 10 ปี ในการขุดค้นสุสานและค้นพบห้องเก็บพระศพ โลงพระศพที่ทำด้วยทองคำบริสุทธิ์



สำหรับสุสานฟาโรห์หนุ่มองค์นี้คือ คำสาป ที่นักบวชไอยคุปต์ บรรจงสลักไว้ในสุสานของตุตันคาเมน “มรณะจักโบยบินมาสังหารสู่ผู้บังอาจรังควานสันติสุขแห่งพระองค์ฟาโรห์” ข้อความที่ขลังและเปี่ยมด้วยอาถรรพณ์นี้ ทำให้มีการตายอย่างน่าพิศวงซึ่งเชื่อกันว่าเกิดขึ้นเพราะฤทธิ์คำสาป

ลอร์ด คาเนวอนก็เสียชีวิตขณะพักอยู่ที่โรงแรมในกรุงไคโร ประเทศอียิปต์ ในเวลาเดียวกันที่บ้านของลอร์ด คาเนวอนที่ประเทศอังกฤษมีสุนัขอยู่หนึ่งตัวซึ่งลอร์ด คาเนวอนได้เลี้ยงไว้ สุนัขตัวนี้ได้ส่งเสียงเห่าหอนในตอนดึกเหมือนกับว่าได้รู้ว่าลอร์ด คาเนวอนเสียชีวิตลงแล้ว หนึ่งปีผ่านไป คนงานในคณะสำรวจของคาร์เตอร์เสียชีวิตลง หลังจากนั้น 6 ปีได้มีการเปิดหลุมศพอีกครั้งแต่ในครั้งนี้ได้มีคนตายอีกถึง 12 คน
                               
            ปิดคดีฆาตกรรม 3,000 ปี "ตุตันคาเมน" ไม่ได้ถูกปลงพระชนม์

เอเอฟพี-เทคโนโลยีทันสมัยช่วยไขปัญหาคาใจของผู้คนในวงการประวัติศาสตร์และผู้สนใจเรื่องราวชวนพิศวงของอาณาจักรไอยคุปต์โบราณ เมื่อผลการตรวจสอบโดยใช้แคทสแกนชี้ว่า ยุวกษัตริย์ผู้ปกครองอาณาจักรอียิปต์เมื่อ 3,000 ปีก่อน น่าจะสิ้นพระชนม์เพราะ "ขาหัก" มากกว่าจะถูกปลงพระชนม์ด้วยธนูอย่างที่เชื่อกัน  ซาไฮ ฮาวาสส์ (Zahi Hawass) ผู้อำนวยการสภาโบราณสถานแห่งอียิปต์ (Egypt's Supreme Council of Antiquities) ผู้นำการศึกษาเผยว่า ฟาโรห์ตุตันคาเมนน่าจะสิ้นพระชนม์จากบาดแผลที่ติดเชื้อ โดยผลการตรวจพระศพมัมมี่อายุ 3,300 ปีโดยใช้คอมพิวเตอร์แบบแคทสแกนชี้ว่า พระองค์น่าจะกระดูกหักไม่นานก่อนสิ้นพระชนม์
       

       แม้คณะทำงานจะมีความเห็นขัดแย้งกันบ้างในรายละเอียดที่ได้จากการตรวจสอบ สิ่งที่ทุกคนเห็นตรงกันก็คือตุตันคาเมนไม่ได้สิ้นพระชนม์เพราะถูกปลงพระชนม์ตามที่เชื่อกันมานาน



“ตุตันคาเมน” หรือ "ตุตันคามุน" (Tutankhamun/Tutankhamen) เป็นฟาโรห์องค์ที่ 12 ในราชวงศ์ที่ 18 ของอียิปต์ ทรงขึ้นครองราชย์ด้วยพระชนมายุเพียง 10 ชันษา ทรงเป็นกษัตริย์อียิปต์โบราณในช่วงปี 1334 - 1323 ก่อนคริสตกาล ก่อนหน้าขึ้นครองราชย์ใช้พระนามว่า “ตุตันคาเตน” อันหมายถึงเทพอาเตน หรือสุริยเทพอวตารลงมา

ทั้งนี้ พระราชบิดาของพระองค์คือ “เอเมนโฮเทปที่ 4” ซึ่งเปลี่ยนชื่อ
เป็น “อาเคนาเตน” ด้วยความศรัทธาใน “เทพอาเตน” เป็นอย่างมาก โดยยัดเยียดและปฏิรูปศาสนาอย่างถอนรากถอนโคน ซึ่งแต่เดิมนั้นประชากรอียิปต์นับถือพระเจ้าหลายองค์ (พหุเทวนิยม) โดยมีเหล่านักบวช เป็นผู้ดูแลทำพิธีในวิหารต่างๆ

       แต่อาเคนาเตน ได้นำเอาศาสนาพระเจ้าองค์เดียว (เอกเทวนิยม) คือ สุริยเทพอาเตนเข้ามา ซึ่งหลังจากอาเคนาเตนสิ้นพระชนม์ลง ศาสนสถานและชื่อต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับ “อาเตน” จึงถูกลบออกไป รวมทั้งพระนามของ “ตุตันคาเตน” ที่เปลี่ยนมาเป็น “ตุตันคาเมน”

       ตุตันคาเมนสิ้นพระชนม์เมื่อ 18 ชันษาโดยไม่ทราบสาเหตุ แต่เชื่อกันว่าฟาโรห์หนุ่มองค์นี้ถูกลอบปลงพระชนม์โดยสังฆราชอัย นักบวชชั้นสูงซึ่งครองตำแหน่งผู้นำทางการทหารด้วย และต่อมาได้สถาปนาตัวเองเป็นฟาโรห์สืบราชสมบัติ
 

เมื่อปี 1968 นักโบราณคดีได้เปิดโลงไม้บรรจุพระศพมัมมี่และทำการตรวจสอบ ซึ่งผลเอกซเรย์ครั้งนั้นพบว่ามีเศษกระดูกอยู่ในกะโหลกของพระองค์ ซึ่งทำให้น่าเชื่อว่าพระองค์ทรงถูกปลงพระชนม์ด้วยธนู แต่รายงานล่าสุดหลังมีการเคลื่อนย้ายพระศพฟาโรห์ไปตรวจสอบที่พิพิธภัณฑ์กรุงไคโรเป็นครั้งแรกยืนยันว่า ไม่มีหลักฐานว่าตุตันคาเมนต้องธนูที่กะโหลกศีรษะด้านหลังและไม่มีหลักฐานของการทำร้ายร่างกายอื่นๆ
       
       ตามข้อมูลผลการตรวจสอบกะโหลกศีรษะ กระดูกหน้าอก และกระดูกส่วนอื่นๆ อีก 2 ชิ้น เศษกระดูกในกะโหลกน่าจะเกิดขึ้นในช่วงดองพระศพ โดย "ไม่มีทางเป็นไปได้ที่จะเกิดจากการได้รับบาดเจ็บก่อนเสียชีวิต" นอกจากนี้ยังชี้ว่ารอยแตกที่กระดูกต้นขาด้านซ้ายเป็นหลักฐานว่าขาซ้ายของฟาโรห์หักก่อนสิ้นพระชนม์
       "แม้ว่าตัวบาดแผลจะไม่เป็นอันตรายถึงตาย แต่ก็อาจมีการติดเชื้อแทรกซ้อน" รายงานระบุ

       อย่างไรก็ตาม นักวิจัยบางคนไม่เห็นด้วยกับทฤษฎีนี้ พวกเขาเชื่อว่ารอยแตกที่กระดูกอาจเกิดขึ้นในภายหลังด้วยฝีมือของนักโบราณคดี
ไม่ว่ารอยแตกที่กระดูกนั้นจะเกิดขึ้นเพราะเหตุใด ฮาวาสส์แสดงความมั่นใจว่าตุตันคาเมนไม่ได้ถูกลอบปลงพระชนม์แน่
       

       "คดีนี้ปิดแล้ว เราไม่ควรจะรบกวนพระศพอีกต่อไป ไม่มีหลักฐานว่ายุวกษัตริย์พระองค์นี้ถูกปลงพระชนม์"

ภาพสแกนทั้งร่างของพระศพมัมมี่ตุตันคาเมน
คำสาปฟาโรห์
       ด้วยระยะเวลาอันสั้นในการครองราชย์ทำให้กษัตริย์พระองค์น้อยทรงไม่มีภารกิจใดมากนัก ที่สำคัญหลังสิ้นพระชนม์ทรงถูกกษัตริย์องค์ต่อมาลบทุกสิ่งทุกอย่างรวมทั้งพระนามของตุตันคาเมนออกจากรายนามพระมหากษัตริย์และราชวงศ์ ทำให้ไม่มีนักประวัติศาสตร์คนใดรู้จักพระนามของพระองค์เลย

       “โฮเวิร์ด คาร์เตอร์” (Howard Carter) นักโบราณวิทยาชาวอังกฤษและ “ลอร์ด คาร์นาร์วอน” (Lord Carnarvon) ผู้สนับสนุนทางการเงิน
เป็นคณะแรกที่ได้เข้าสู่สุสานของตุตันคาเมนในหุบผากษัตริย์ เมืองลักซอร์ ในวันที่ 4 พ.ย. 1922 โดยคาร์เตอร์ใช้เวลาถึง 10 ปี ในการขุดค้นสุสานและค้นพบห้องเก็บพระศพ โลงพระศพที่ทำด้วยทองคำบริสุทธิ์
       

       แม้ตุตันคาเมนจะไม่ใช่กษัตริย์องค์สำคัญ แต่สุสานของพระองค์มีเครื่องประกอบพิธีศพที่หาค่าไม่ได้เนื่องจากพระศพและสุสานที่สร้างขึ้นไม่ได้สลักชื่อว่าเป็นของกษัตริย์ จึงรอดพ้นเงื้อมมือโจรที่คอยปล้นและทำลายสุสานไปได้ และทำให้ทุกอย่างยังคงสภาพที่สมบูรณ์ที่สุด ทำให้การค้นพบในครั้งนี้นับเป็นการค้นพบทางโบราณคดีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งในโลก

       แต่สิ่งที่ร่ำลือกันมากกว่าสิ่งใดสำหรับสุสานฟาโรห์หนุ่มองค์นี้คือ คำสาป ที่นักบวชไอยคุปต์บรรจงสลักไว้ในสุสานของตุตันคาเมน
“มรณะจักโบยบินมาสังหารสู่ผู้บังอาจรังควานสันติสุขแห่งพระองค์ฟาโรห์”
       
       ข้อความที่ขลังและเปี่ยมด้วยอาถรรพณ์นี้ ทำให้มีการตายอย่างน่าพิศวงซึ่งเชื่อกันว่าเกิดขึ้นเพราะฤทธิ์คำสาป และนับแต่สุสานถูกเปิดผู้ร่วมพิธีเปิดเสียชีวิตไป 22 คนและนับจากนั้นแม้เวลาจะผ่านไปนานเท่าไรหากแต่เมื่อครั้งใดที่ฟาโรห์ตุตันคาเมนถูกรบกวนก็ย่อมจะมีผู้ที่สังเวยต่อคำสาปอันลี้ลับนี้เสมอมา รวมถึงลอร์ดคาร์นาร์วอน เจ้าของทุนในการขุดค้นสุสานก็เสียชีวิตลงหลังจากถูก “ยุงกัด”

รูปภาพจากกูเกิ้ลค่ะ ^^

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น