วันจันทร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

พญางูคูคุลคันกับรหัสลับชาวมายา


ทุก วันที่ 21 มีนาคม เป็นวันวสันตวิษุวัต(Vernal equinox) คือ เวลากลางวันยาวเท่ากับเวลากลางคืน ในหน้าเปลี่ยนฤดู จะมีปรากฏการณ์รวมตัวกันอย่างน่าประหลาดของฝูงชน เพราะมีสิ่งแปลกประหลาดเกิดขึ้น นั่นคือ “การมาเยือนของพญางูยักษ์” โดยพญางูนี้มีชื่อเรียกว่า “คูคุลคัน (Kukulcan)” เป็นพญางูที่มีขนเหมือนนก เทียบได้กับ “เควทซัลโคทล์ (Quetzalcoatl)” ของชาวแอซเท็ค ทำให้ถูกเข้าใจผิดว่าเป็นสิ่งเดียวกับอยู่บ่อย ๆ

พญา งูคูคุลคันนี้ แม้จะพูดกันว่ามีพิษเทียบสุริโย แต่กลับเป็นงูใหญ่ใจดี บรรดาลความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ผืนแผ่นดินและไร้ข้าวโพดทั่วราชอาณาจักร ชาวมายาจึงถือเอาวันแรกของปีที่ได้เห็นพญางูยักษ์ เป็นวันเริ่มการเพาะปลูก ไถหว่าน และทำการเกษตรต่าง ๆ

การ เสด็จมาของพญางูยักษ์คูคุลคันนี้ นับเป็นภูมิปัญญาชั้นสูงของชาวมายา งูยักษ์นี้ทอดตัวไปตามด้านข้างของบันไดพีระมิด(หางอยู่ด้านบน หัวอยู่ด้านล่าง) และพวกเขารู้ว่า หากสร้างพีระมิดตามแนวทิศ เหนือ ใต้ ออก ตก ธรรมดาแล้ว จะไม่มีทางเห็นพญางูเสด็จมาอย่างแน่นอน จึงวางแปลนของพีระมิดให้เบี่ยงออก พอให้มีแสงลอดมาส่องที่บรรไดข้างหนึ่ง ซึ่งมีหัวสลักเป็นงูหินได้อย่างพอดิบพอดี จึงทำให้เห็นคล้ายว่างูทั้งตัวกำลังเลื้อยลงมา พร้อมกับแสงเรืองรองสมกับที่เป็นงูเทพ เป็นบทพิสูจน์ว่าสถาปนิกในยุคนั้นไม่ธรรมดาทีเดียว

การ เล่นแสงที่ทำให้เหมือนมีงูยักษ์เคลื่อนตัวผ่านมายังผืนโลกนั้นยังเห็นได้จน ทุกวันนี้ เป็นสัญญาณให้เริ่มทำการเพราะปลูกพืชไร่ที่หลับไหลมาตลอดฤดูหนาว
นอก จากเรื่องของงูยักษ์แล้ว ชาวมายายังมีรหัสลับอย่างอื่นอีกมาก โดยที่สำคัญถัดมาคือหอศิลาสูง เจาะช่องเล็กเสียจนมองดูน่าอึดอัด ต่อมาจึงได้พบว่าหอนี้มีไว้สำหรับให้องค์กษัริย์มายากระทำพิธีอัน ศักดิ์สิทธิ์ และให้บรรดาโหราจารย์ใช้เป็นที่ดูดาว คำนวณศุภฤกษ์สำหรับราชพิธีต่าง ๆ หอนั้นจึงมีชื่อเรียกกันในหมู่มังคุเทศก์ท้องถิ่นว่า “หอดูดาว (Observatory)”

ความ รู้ทางด้านดาราศาสตร์ของชาวมายาไม่ใช่ความรู้เพียงพื้น ๆ เท่านั้น แต่เป็นความรู้ขั้นละเอียดจนน่าอัศจรรย์ พวกเขากำหนดปฏิทินให้ปีหนึ่งมี 365.24 วัน ซึ่งนับว่าใกล้เคียงมาก และพวกเขาคำนวณได้ก่อนนักดาราศาสตร์ยุคปัจจุบันนับพันปี จึงนับเป็นมรดกทางภูมิปัญญาที่น่าทึ่งมาก

เมื่อ เรามองลึกลงไปถึงปราสามน้อยแห่งชิเช็นอิทซ่า ซึ่งมีนักโบราณคดีนานาชาติมาขุดกันอยู่บ่อยครั้ง รอบ ๆ เป็นอุโมงค์ขนาดเล็กทอดยาวไปสู่ใจกลางของพีระมิด และด้านในสุดเป็นผนังหินปูขาวรุ่นแรกสุดที่ใช้วางรากฐานของวิหารแห่งนี้ ที่หัวใจของพีระมิดพบสุสานส่วนตัวของบุรุษผู้หนึ่งซึ่งนอนทอดร่างอยู่พร้อม กับทรัพย์ศฤงคารมากมาย อันประกอบด้วยหยกเขียวน้ำดีน้อยใหญ่ ทำให้รู้ว่าเจ้าของร่างนี้คืออดีตกษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่พระองค์หนึ่งของชาว มายา ในช่วยศตวรรษที่ 8-9

อย่าง ไรก็ตามนักโบราณคดียังคงไม่หยุดการค้นหาแหล่งน้ำ ด้วยเชื่อว่าเมื่อมีมนุษย์ก็ต้องมีน้ำ เพราะน้ำเป็นสิ่งสำคัญมากในการดำรงชีวิต และจากการค้นหาแทบพลิกแผ่นดิน ก็ได้พบหมู่บ้านคนงานแห่งหนึ่งที่เหลือเพียงฐานอิฐ แต่ส่วนบนซึ่งคาดว่าน่าจะทำด้วยไม้นั้นได้ผุพังไปหมดแล้ว ในที่สุดพวกเขาก็ได้พบซากปรักของแอ่ง ซึ่งคาดว่าน่าจะเป็นแหล่งน้ำขนาดใหญ่มาก่อน (เมื่อสี่ร้อยปีที่ผ่านมา) และที่สำคัญคือ ไม่ได้พบเพียงบ่อเดียว แต่พบถึงสามบ่อด้วยกัน ไล่ชั้นลดหลั่นกันไปจากบนลงล่าง

เมื่อ ขุดลงไปถึงก้นของแอ่งนั้นก็ได้พบส่วนประกอบสำคัญอย่างหนึ่งติดพลั่วมา นั่นคืออิฐขาวที่ทำด้วยมือ บ่งชี้ว่ามีการปูก้นบ่อด้วยหินปูนขาวเพื่อกักเก็บน้ำไว้ นักโบราณคดีจึงส่งตัวอย่างของดินจากก้นบ่อทั้งสามไปตรวจสอบที่ห้องแล็บ ปรากฏว่าพบธาตุ ฟอสฟอรัส แคลเซียม และธาตุอนินทรีย์อื่น ๆ ที่เป็นของเฉพาะสำหรับบ่อน้ำอุปโภคบริโภค

อย่าง ไรก็ดี เมื่อตรวจอย่างละเอียดแล้ว พบว่าบ่อที่สามซึ่งอยู่ล่างสุดของเมือง มีสิ่งประหลาดคือ มีสารอินทรีย์อยู่มาก พร้อมทั้งปีกแมลงและสิ่งปฏิกูลอื่น ๆ จึงได้ข้อสรุปว่า บ่อที่สามนี้เป็นบ่อรวมน้ำทิ้งจากบ่อที่หนึ่งและสองด้านบน จึงทำหน้าที่คล้ายกับบ่อเกรอะ และที่น่าสงสารคือ ดูเหมือนว่าบ่อนี้จะถูกใช้โดยชนชั้นล่างสุดของเมือง ส่วนบ่อชั้นบนมีไว้สำหรับกษัตริย์และพลเมืองชั้นสูง และแน่นอนน้ำนั้นเป็นของหายากสำหรับชาวมายา จึงไม่มีใครปฏิเสธที่จะใช้น้ำในบ่อเกรอะ แม้มันจะเป็นน้ำทิ้งก็ตาม…

เพิ่มเติม : พยา งูคูคุลคัน ของชาวมายา และ เควทซัลโคทล์ ของชาวแอซเท็ค มีส่วนคล้ายกันคือ ทั้งสองเป็นเทพแห่งพืชผล ช่วยบันดาลความอุดมสมบูรณ์แก่การเกษตร และลักษณะเป็นงูใหญ่ยักษ์ที่มีขนคล้ายนกเหมือนกัน แต่ที่ต่างกันคือ พญางูเควทซัลโคทล์ นั้นดุร้าย และชาวแอซเท็คจะต้องทำการบูชายัญด้วยชีวิตมนุษย์ทุก ๆ ปี ดังนั้นชาวแอซเท็คจึงต้องยกทัพออกไปตีเมืองต่าง ๆ เมื่อจะได้จับเชลยศึกมาสังเวยแทนที่จะเป็นคนในเผ่าตนเอง

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น